วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ให้ส่งแผนการจัดการเรียนการสอนและอาจารย์ได้สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชานี้ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้เกียวกับวิทยาศาสตร์มากมาย ได้สังเกต ได้ทดลอง และเขียนแผนโครงการวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเรื่องของวิวัฒนาการของแสงและน้ำ ได้เรียนรู้เทคนิกต่างๆ
ดิฉันขอขอบพระคุณ อาจารย์ที่ได้ให้ความรู้ในเรื่องการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งดิฉันจะนำเอาความรู้ที่ได้รับไปใช้ใหเกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 20 กันยายน 2554

วันนี้เข้ามาในห้อง เงียบมาก รวมทั้งดิฉันด้วย น่านอนมากเลยบรรยากาศในห้องเรียน แล้วอาจารย์ก็เข้ามาในห้อง อาจารย์พยายามทำให้ตื่นตัวกัน ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะพวกเรายังไม่ได้นอนกันเลย โอ้ยสมองตันกันใหญ่ อาจารย์เลยพูดถึงบล็อก ว่าอาจารย์เข้าเช็คทุกครั้ง ซึ่งบางคนยังไม่ได้ทำ ให้รีบไปทำซะ บางคนก็ทำออกมาได้เรียบร้อย มีการใส่ทั้งรูปภาพให้ดูดี พูดไปก็ไม่กระเตื้อง อาจารย์เลยเปิดดูบล็อกของแต่ละคน แต่น่าแปลกนะพออาจารย์เปิดดูบล็อกทุกคนต่างดูสนอกสนใจมากขึ้นมีเสียงหัวเราะกัน และอาจารย์ได้พูดถึงวิจัย บอกวิธีหาวิจัย เพราะมีเสียงข้างมากบอกว่าหาวิจัยวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยได้ หาได้ก็มีแต่บทคัดย่อมาอีกที อาจารย์เลยให้เว็ปมา
(หาวิจัย) http:thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear Chi Ed
หรือไม่ก็ลองไปหาของมหาวิทยาลัยดู
และวันนี้ดูเหมือนนักศึกษาจะอยากกลับไปพักผ่อนกันมาก ทุกคนในห้องดูจะเอาใจอาจารย์มาก เพราะเป็นห่วงอาจารย์กลัวอาจารย์เหนือย แถมบรรยากาศในห้องตอนนี้ก็ดูมืดๆครึ้มๆ และแล้วฝนก็ตกลงมา ทำให้กลับกันไม่ได้แล้ว อาจารย์ถึงกับหัวเราะ โอ้ย ! น่านอนมาก วันนี้เลยไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนเลย และอาจารย์ก็ทบทวนความรู้เดิมให้จากคาบที่แล้ว ว่า การเสริมประสบการณ์ ในวันแรกเราจะพูดถึงลักษณะแล้วก็แตกออกไป ดังนั้นในลักษณะนี้จะต้องสอดคล้องกับเด็ก แล้วเด็กก็จะสามารถบอกชื่อ บอกลักษณะ บอกเนื้อหา และในส่วนของเนื้อหาก็จะให้ประสบการณ์ที่สำคัญ ฉนั้นประสบการณ์ที่สำคัญจึงมีการสังเกต การจำแนก การทดลอง การจำแนกจัดหมวดหมู่ การวัดการคำนวน และกระบวนการทดลอง จึงอยู่กับการจัดประสบการณ์ ทั้งที่ได้กล่าวมาจึงมีความสำคัญมาก เพราะเด็กสามารถใช้ในการสังเกต จับ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ใช้กระบวนการจากการสังเกต
ขั้นนำ -> ถ้าต้องนำเพลงหรือคำคล้องจองที่สอดคล้องกับเรื่องที่เราจะสอนนิทานจะใช้เมื่ออยากจะบอกหรือเล่าประโยชน์ของเรื่องเหล่านั้น ด
ดังนั้นประสบการณ์คือ การที่เด็กกระทำในเรื่องน้้นๆ ก็จะมี
ประสบการณ์ด้านภาษา -การฟัง
- การพูด
- การอ่าน
- การเขียน
และในวันนี้ให้กลับไปแก้งานกลุ่มมา แล้วเอาทั้งอันใหม่และอันเก่า โดยอันใหม่อาจารย์จะมีกระดาษแบบให้มาทำ พร้อมอธิบาย

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 13 กันยายน 2554

วันนี้ดิฉันมาสายกัน เข้าห้องมาก็เห็นอาจารย์อยู่ในห้อง แถมรอกลุ่มของดิฉันอีกต่างหาก อยากบอกเลยว่ารู้สึกผิดเลยที่มาสาย แต่อาจาย์ก็ไม่ได้ว่าอะไร วันนี้อาจารย์ก็พูดถึงงานที่ได้สั่งไว้ในคาบที่แล้ว ให้นำมาส่ง และอาจารย์อยากรู้ว่าแต่ละกลุ่มมีเรื่องอะไรบ้าง
  1. ไข่
  2. มะพร้าว
  3. กล้วย
  4. มะม่วง
เช่นเรื่อง ไข่ - สาระสำคัญ
- ประสบการณ์สำคัญ
สมรรถนะ - ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม ภาษา คณิต วิท สร้างสรรค์

แล้วอาจาย์ก็เรียกขอส่งงานกลุ่ม ทุกกลุ่มเลย ทั้งห้องดูวุ่นวายกันมาก เพราะบางกลุ่มสมาชิกยังมาไม่ครบ พอเพื่อนส่งงานกันทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ได้พูดขึ้นมาว่า ถ้าเราจะสร้างหน่วยมาจากหลักคิดที่มีใกล้ตัวเด็กให้มาก เพราะเด็กจะได้เชื่อมโยง อยู่ๆเราจะคิดว่าจะเอาหน่วยอะไรก็ได้ นั้นไม่ใช่
สาระสำคัญ - > เนื้อหาเราจะต้องจัดให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ เด็กได้รับประสบการณ์ที่สำคัญ
ภาษา - ประสบการณ์ฟัง
- ปรสบการณ์พูด
- ประสบการณ์อ่าน
- ประสบการณ์เขียน
ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือ ประสบการณ์ที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้สังเกต
กิจกรรมที่เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด คือ กิจกรรมเสริมประสบการณ์
วัตถุประสงค์
สาระสำคัญ
ประสบการณ์สำคัญ
กิจกรรม
- ขั้นนำ
- ขั้นสอน
- ขั้นสรุป
แล้วอาจารย์ก็หยิบชิ้นงานของกลุ่มนึงขึ้นมา อาจารย์พูดแล้วทุกคนในห้องหัวเราะกันใหญ่ อาจารย์พูดว่า นี่อย่างพยายามทำตัวเป็นนางเอกมากเพราะถ้าพูดความไปก็เหมือนว่าครูพูดอยู่คนเดียว อย่างนี้ต้องกลับไปกินน้ำส้มแล้ว

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 6 กันยายน 2554

วันนี้เป็นวันที่น่าเรียนวันนึ่ง เพราะว่าวันนี้อารมณ์ดีเป็นพิเศษ วันนี้อาจารย์เข้ามาช้านิดหน่อย แต่ก็เข้าใจอาจารย์เป็นอย่างมาก แต่ก็ทำให้พอมีเวลาว่างที่จะได้ทบทวนงานกลุ่ม แต่พอนั่งในห้องไป เห็นเพื่อนในห้องนั่งคุยกัน ทำให้บรรยากาศในห้องน่านอนมาก พออาจารย์เดินเข้ามาทุกคนเงียบไปในพริบตา แล้วเข้านั่งที่ของตัวเองเตรียมที่จะเรียน อาจารย์ให้นำเอาชิ้นงานแกนกระดาษทิชชู่มาส่ง ที่สั่งเอาไว้อาทิตย์ที่แล้ว แล้วให้ออกมานำเสนอชิ้นงาน แล้วอาจารย์ก็ได้ให้คะแนะนำในชิ้นงานของแต่ละกลุ่ม แล้วให้เขียนวิธีทำ แล้วที่ทำมานี่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร อาจารย์ขอดูงานโครงการของแต่ละกลุ่ม พอทุกคนเอาไปส่ง อาจารย์ก็คัดเอาของกลุ่มที่ทำมาถูกต้องมาให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้แต่ละกลุ่มดูไว้เป็นตัวอย่าง อาจารย์ก็ได้พูดถึงโครงการของแต่ละกลุ่ม แล้วชี้แจงในงานโครงการ
เริ่มต้นจากที่ หาหัวข้อที่อยากรู้ โดยที่เด็กเป็นผู้เสนอ ก็จะมี - เขียนชื่อหัวข้อ
- ลงมติ เขียนหัวข้อ
- ได้หัวข้อ
ตัวอย่าง
เห็ด
- ลักษณะ
- ประโยชน์
- โทษ
- เพาะได้อย่างไร
- ประกอบอาหาร

ในที่นี้ให้กลับไปปรับปรุงกันมาแล้วค่อยนำมาส่ง แล้วเรื่องมหัศจรรย์น้ำ ว่าน้ำเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของเรา ดังนั้นร่่างกายของเราจะมีน้ำถึง 70 กว่า % ส่วนในผลไม้มีน้ำถึง 90 กว่า %
น้ำจะมี 3 สถานะ -> ของแข็ง ( น้ำแข็ง ) -> ของเหลว ( น้ำที่เราดื่ม ) -> ก๊าซ ( ไอน้ำ )
ฝนเกิดจากอะไร เกิดจากน้ำที่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้น้ำเกิดเป็นไอ เมื่อไอน้ำลอยขึ้นไปบนฟ้าเกาะรวมกันเป็นก้อนเมฆ แล้วจึงเกิดฝนร่วงลงมา ทั้งหมดสรุปได้ว่าเป็นเรื่องของสถานะ








บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2554

วันนี้ดิฉันเข้ามาห้องเรียน อยากบอกเลยว่าโคตรเสียงดังมาก แถมวันนี้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนดันมาเปิดไม่ได้ พออาจารย์เข้ามาก็เป็นเช่นเดิมมีการทักทายพูดคุยกันก่อนที่จะเรียน ทำให้นักศึกษาสนุกไปพร้อมกับการเรียน และทำให้ในห้องน่าเรียนขึ้นมาก พอคุยกันสนุกพอสมควรอาจารย์ก็นำเข้าเรื่อง วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องโครงการของกลุ่มภาคเช้า ว่ากลุ่มภาคเช้าทำเรื่อง ขวดน้ำมหัศจรรย์ พวกเราคิดกันเรียบร้อย แล้วส่วนของกลุ่มตอนบ่ายละ แถมเรียนช้าไปตั้ง 2 เรื่อง แล้วก็สรุปกันได้ว่า เราจะนำเอาแกนทิชชู่มาประดิษฐ์ โดยมีเพื่อนในห้องได้อาสาที่จะทำกล้องสลับลาย(อิ๋ว สุทธินี /โบว์)

แกนทิชชู่

วิทยาศาสตร์

- สิ่งที่อยู๋รอบตัว

- ผลิตจากธรรมชาติ

- เปลี่ยนแปลงได้

- มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

*สภาพแวดล้อม

- ทำให้เกิดพลังงาน

แก้ปัญหา

- อย่าใช้เยอะ

- ใช้ใหม่

*ขาย

*เปลี่ยนประยุกต์

และแกนกระดาษทิชชู เนื่องจากเสียง เสียงมีการเดินทางของเสียงอยู่ เพราะฉนั้นถ้าเรามีการเป่าลมเข้าไปแล้วทำให้เกิดเสียง เนื่องการเรียนรู้เกิดได้ทุกสถาณการณ์ แกนทิชชูนำมาต่อเป็นท่อแล้วยังสามารถหยิบยกออกจากกันได้

โครงการ

ระยะเริ่มโครงการ

1. หาหัวเรื่อง -> ให้เด็กนำเสนอ -> พูด

เขียน

เลือก

2. ยกตัวอย่างมา 1 เรื่อง

3. ทำอย่างไร -> สถานที่

- ห้องสมุด

- พิพิธภัณฑ์

-> คน

- คนขาย

- คนเลี้ยง

- ผู้เชี่ยวชาญ

-> กิจกรรม

- แต่งเพลง

- นิทาน

-> ทบทวนประสบการณ์เดิม

- สนทนา

- ทำงานศิลป์

ระยะดำเนินการปฏิบัติตามแผน

ระยะสรุปนำเสนอ

-> หน้าที่

- อธิบาย

- ต้อนรับ

- จัดสถานที่

-> คน

- เด็กผู้ดำเนิน

- ครูอำนวย

- ผู้ร่วมโครงการ

-> สถานที่

แล้วอาจารย์ก็ได้สั่งการบ้าน ให้แบ่งกลุ่ม 3-4 คน ให้เขียนหน่วยการสอน แบบโครงการ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554

วันนี้ดิฉันเข้ามาในห้องเรียน สภาพห้องก็ดูเหมือนๆเคยที่เห็นได้ชัดเลยคือ เสียงที่ดังอึกทึก เหมือนว่าทุกคนจะมีเรื่องที่อยากพูดคุยกันมาก แล้ววันนี้อาจารย์ก็เข้ามาสรุปเรื่องคุณสมบัติของแสง จากความคาบที่แล้ว มีเพื่อนในห้องได้ถามอาจารย์ว่า VDO เรื่องแสงที่ดูไปคาบที่แล้วจะขออาจารย์ก๊อปได้หรือเปล่า อาจารย์บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์จะ write มาให้ทีหลัง และในคาบที่แล้วอาจารย์ยังไม่ได้ให้การบ้านไปทำ วันนี้อาจารย์เลยขอสั่งการบ้าน อาจารย์จะให้ทำสื่อวิทยาศาสตร์ ให้นำวัสดุเหลือให้มาทำสื่อวิทยาศาสตร์ จะให้ยกตัวอย่างออกมา โดยที่กลุ่มตอนเช้าได้ทำเกี่ยวกับขวดไปแล้ว แล้วกลุ่มตอนบ่ายจะทำอะไร มาตกลงกันว่าจะทำยังไง ทุกคนในห้องคิดกันหนักเลย จากมีเสียงพูดคุยกันในห้องแต่ตอนนี้เงียบกันหมด แล้วก็ใช้เวลาอยู่สักพัก อาจารย์ก็พยายามจะช่วย พูดเป็นเชิงให้คิดว่ากลุ่มตอนเช้าเค้าเลือกเอาขวดไปแล้ว งั้นเราต้องหาอะไรที่มันแตกต่าง แต่ สามารถประดิษฐ์ได้หลายอย่าง อืม คิดไปคิดกันมาก็ยังหาข้อลงมติไม่ได้ อาจารย์ก็เลยว่าเดี๋ยวเอาส่วนนี้ไว้ก่อน เพราะมัวแต่คิดส่วนนี้เดี๋ยวเราจะไม่ได้เรียนของคาบนี้ ว่าแล้วก็มาเรียนกันดีกว่าวันนี้อาจารย์จะสอนการจัดกิจกรรมแบบโครงการ

การจัดกิจกรรม

ลงมือกระทำ

- ปฎิบัติจริงด้วยมือ

- ปฎิบัติจริงด้วยตา

- ปฎิบัติจิริงด้วยหู

- ปฎิบัติจริงด้วยลิ้น

- ปฎิบัติจริงจมูก

คิดสร้างสรรค์

- ความคิดริเริ่ม

- ความคิดยืดหยุ่น

- ความคิดคล่องแคล่ว

- ความคิดละเอียดละออ

ลักษณะกิจกรรม/หลักการจัดกิจกรรม

วิธีการ

- สอดคล้องกับพัฒนาการ

- มีความหลากหลาย

* สื่อ - เรียนรู้เอง

- ทดลอง

เนื้อหา

- เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว

- เป็นเรื่องที่่สอดคล้องกับหน่วย

ลำดับขั้นตอน

- ขั้นนำ

- ขั้นสอน

- ขั้นสรุป

ตัวอย่างการจัดการเรียนแบบโครงการ

แล้วอาจารย์ก็ให้ทุกคนในห้องเรียนออกความเห็นว่าเราจะทำเรื่องโครงการอะไร เพื่อนในห้องช่วยกันเสนอ มีดังนี้

ปลา |||| 4

ช้าง | 1

กล้วย ||||| 5

สุนัข ||||| 5

ดอกไม้ ||||||||||||||| 15

ได้ผลสรุปว่า เอาเรื่องดอกไม้ แล้วอาจารย์ก็ได้ถามนักศึกษาว่าอยากจะรู้อะไรบ้างในเรื่องดอกไม้ แล้วเพื่อนในห้องก็พูดขึ้นมาว่า

- ส่วนประกอบของดอกไม้

- ดอกไม้มีชนิดอะไรบ้าง

- ดอกไม้มีสีอะไร

- ประโยชน์อย่างไร

- ขยายพันธ์ด้วยวิธีใด

- วิธีในการดูแลดอกไม้

- วิธีปลูกดอกไม้

แล้วคำตอบนี้ เราจะหาคำตอบกันได้จากที่

บุคคล - คนขาย คนสวน

สถาณที่ - สวนดอกไม้

- ร้านขายดอกไม้

- ห้องสมุด/อินเตอร์เน็ต

- ร้านขายของที่ระลึก (มองดูเห็นถึงการนำเอาดอกไม้มาทำเป็นของที่ระลึก)

กิจกรรม - เคลื่อนไหวและจังหวะ

* แต่งเพลง

* การเคลื่อนไหวประกอบเพลง (ดอกไม้)

- เสริมประสบการณ์

* เชิญ

* ไปดู ทิศทางแผนที่เดินทาง (คณิตศาตร์)

สรุป นำเสนอ

  1. นิทรรศการ
  2. เพลงที่เราแต่ง
  3. นิทาน
  4. แผนที่ (ทั้งหมดครูกับเด็กเป็นคนว่างแผน แต่เด็กเป็นคนนำเสนอ)
  5. งานประดิษฐ์
  6. ส่วนประกอบ
  7. อาหารที่เราทำ
  8. เกม

สรุป จากที่พูดมานี้เป็นวิทยาศาสตร์ได้เพราะดอกไม้เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และในขณะที่มีการเปรียบเทียบเด็กก็จะเกิดความคิดแล้วจะทำให้เด็กเกิดสมมุติฐาน จึงกลายมาเป็นวิทยาศาสตร์

แล้วอาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่องงานที่พูดค้างกันไว้ต้นคาบว่าสรุปว่าคิดออกกันหรือยังว่าจะทำอะไร แล้วอาจารย์ก็ให้กลับไปคิดกันแล้วค่อยมาตกลงกัน